วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552

ปลาหมอ

ปลาหมอไทย (Climbing perch) ชื่อวิทยาศาสตร์ Anabas testudineus (Bloch) เป็นปลาที่รู้จักและนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทย อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วๆไป เป็นปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยหายใจปลาหมอไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า ปลาสะเด็ด ภาคเหนือเรียกว่า ปลาแข็ง ภาคใต้ตอนล่างเรียกชื่อเป็นภาษายาวีว่า อีแกบูยู ชาวบ้านทั่วๆไปเรียกว่า รูปร่างลักษณะภายนอกปลาหมอไทยมีลำตัวค่อนข้างแบนลำตัวมีสีน้ำตาลดำหรือคล้ำ ส่วนท้องมีสีขาวหรือเหลืองอ่อน ลำตัวมีเกล็ดแข็ง กระพุ้งแก้มมีลักษณะเป็นหนามหยักแหลมคมใช้ในการปีนป่าย บริเวณโคนหางมีจุดกลมสีดำ การเตรียมบ่อ1. สูบน้ำออกจากบ่อให้แห้งการสูบบ่อให้แห้งจะช่วยกำจัดศัตรูปลาที่มีอยู่ในบ่อ หลังจากสูบบ่อแห้งแล้วหว่านปูนขาวในขณะที่ดินยังเปียก ในอัตรา 60-100 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน2. กำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำที่มีอยู่ในบ่อจะเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของศัตรูปลาหมอไทย เช่น ปลาช่อน กบ งู ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดลง เนื่องจากพืชน้ำใช้ออกซิเจนในการหายใจเช่นเดียวกับปลา การที่มีพืชน้ำอยู่ในบ่อมากจะเป็นอุปสรรคต่อการให้อาหารและการวิดบ่อจับปลา3. การตากบ่อทำให้แก๊สพิษในดินบางชนิดสลายตัวไป เมื่อถูกความร้อนและแสงแดดเป็นการฆ่าเชื้อโรคและศัตรูปลาที่ฝังตัวอยู่ในดินใช้เวลาในการตากบ่อ 2-3 สัปดาห์4. สูบน้ำเข้าบ่อสูบน้ำใส่บ่อให้ได้ระดับ 60-100 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 2-3 วันก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้องใช้อวนไนล่อนสีฟ้ากั้นรอบบ่อให้สูงจากพื้นประมาณ 90 เซนติเมตร เพื่อป้องกันปลาหลบหนีออกจากบ่อเนื่องจากปลาหมอไทยมีนิสัยชอบปีนป่ายโดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตก5. การปล่อยปลาลงเลี้ยงและอัตราปล่อย5.1 การปล่อยปลานิ้วปล่อยปลาขนาด 2-3 เซนติเมตรในอัตราความหนาแน่น 50 ตัวต่อตารางเมตร ควรปล่อยลูกปลาลงบ่อในช่วงเช้าหรือเย็น ระดับน้ำในบ่อไม่ควรต่ำกว่า 60 เซนติเมตร ควรปรับอุณหภูมิของน้ำในถุงให้ใกล้เคียงกับน้ำในบ่อ เพื่อป้องกันปลาตายปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงประมาณ 1 เดือน จึงเพิ่มน้ำในบ่อให้ได้ระดับ 1-1.5 เมตร5.2 การปล่อยพ่อแม่พันธุ์ให้วางไข่ในบ่อโดยการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีไข่และน้ำเชื้อสมบูรณ์พร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ เมื่อคัดพ่อแม่พันธุ์ปลาได้แล้วจะฉีดฮอร์โมนเร่งการวางไข่ให้กับตัวเมียในอัตราความเข้มข้น ฮอร์โมนสังเคราะห์ 10 ไมโครกรัม และยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัมต่อปลา 1 กิโลกรัม จำนวน 1 ครั้ง แล้วจึงปล่อยให้ผสมพันธุ์วางไข่ในกระชังตาห่าง ซึ่งแขวนอยู่ในบ่อที่มีระดับน้ำไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร อัตราปลาเพศเมียต่อปลาเพศผู้เท่ากับ 1 ต่อ 1 ปริมาณน้ำหนักพ่อแม่ปลา 8-10 กิโลกรัม/ไร่ หรือประมาณ 40-75 คู่/ไร่ วันรุ่งขึ้นเมื่อปลาวางไข่หมดแล้ว จึงนำกระชังพ่อแม่พันธุ์ขึ้นปล่อยให้ไข่ฟักเป็นตัวหลังจากลูกปลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 4 วัน จึงเริ่มให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผง หรือให้อาหารพวกรำละเอียดผสมปลาบ่ออัตรา 1 ต่อ 1 เป็นระยะเวลา 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงให้อาหารเม็ดปลาดุกเล็กพิเศษหรือปลาสดจับละเอียดและเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดปลาดุกใหญ่เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น จนได้ขนาดตลาด อาหารและการให้อาหารปลาหมอไทยกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ การเลี้ยงจึงให้อาหารเม็ดปลาดุกในอัตรา 3-5% ของน้ำหนักตัววันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยช่วงแรกให้อาหารเม็ดปลาดุกขนาดเล็กหรือปลาสดสับละเอียดเป็นเวลา 2 เดือน และถัดมาเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดปลาดุกใหญ่เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น การให้อาหารต้องหว่านให้ทั่วบ่อ การเปลี่ยนถ่ายน้ำจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ เพราะการเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ทำให้ปลามีการกินอาหารดีขึ้นส่งผลให้ปลาเจริญเติบโตดี ระยะเวลาการเลี้ยงและการจับใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4-5 เดือน การจับปลาหมอไทยใช้วิธีการจับแบบวิดบ่อแห้ง โดยก่อนจับปลาจะต้องสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อยแล้วจึงตีอวนจับปลา โดยจากอวนจากขอบบ่อด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง แล้วจึงยกอวนขึ้นใช้สวิงจับปลาใส่ตะกร้าเพื่อคัดขนาดจนกระทั่งเหลือปลาจำนวนน้อยจึงสูบน้ำออกจากบ่อให้หมด และจับปลาที่เหลืออยู่ตามพื้นบ่อขึ้นมาคัดขนาดหลังจากนั้นจึงตากบ่อให้แห้งและเตรียมบ่อเพื่อเริ่มต้นเลี้ยงปลาในรุ่นต่อไป การจำหน่ายปลาหมอไทย1. ปลาขนาดใหญ่ ขนาด 6-10 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 55-60 บาท2. ปลาขนาดกลาง ขนาด 7-20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 25-30 บาท3. ปลาขนาดเล็ก ขนาดมากกว่า 20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 15-20 บาท การป้องกันและกำจัดโรค โรคจุดขาวอาการ ปลาจะมีจุดสีขาวขุ่นขนาดเท่าหัวเข็มหมุด กระจายอยู่ตามลำตัวและครีบสาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชนิดที่กินเซลผิวหนังเป็นอาหารการป้องกันและรักษา เนื่องจากปรสิตชนิดนี้จะฝังตัวอยู่ใต้ผิวหนัง การกำจัดได้ผลไม่เต็มที่วิธีที่ดีที่สุดคือ การทำลายตัวอ่อนในน้ำหรือทำลายตัวแก่ขณะว่ายน้ำอิสระ ใช้ฟอร์มาลีน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง ปลาขนาดใหญ่หรือ 25-50 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ 24 ชั่วโมงและแยกปลาที่เป็นโรคออกจากบ่อ โรคจากเห็บระฆังอาการ ปลาจะเป็นแผลตามผิวหนังและเหงือกสาเหตุ เกิดจากเห็บระฆังเข้าไปเกาะตามลำตัวและเหงือกการป้องกันและรักษา ปลาตายในระยะเวลาอันสั้นและมีการติดต่อระหว่างบ่อที่ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน การกำจัดใช้ฟอร์มาลีน 150-200 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง โรคตกเลือดตามซอกเกล็ดอาการ ปลามีแผลสีแดงเป็นจ้ำๆ ตามลำตัว โดยเฉพาะที่ครีบและซอกเกล็ดถ้าเป็นแผลเรื้อรังอาจมีอาการเกล็ดหลุดบริเวณรอบๆและด้านบนของแผลจะมีส่วนคล้ายสำลีสีน้ำตาลปนเหลืองติดอยู่สาเหตุ เกิดจากปรสิตเซลล์เดียวที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือกระจุกการป้องกันและรักษา1. ใช้เกลือเม็ด 5-10 กิโลกรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตรแช่ 48 ชั่วโมง2. ใช้ฟอร์มาลีน 25-40 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร หลังจากแช่ยาแล้วถ้าปลามีอาการไม่ดีขึ้นควรเปลี่ยนน้ำแล้วพักไว้ 1 วัน จากนั้นใส่ยาซ้ำอีก 1-2 ครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น: