วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552

ปลาบู่

การเลี้ยงปลาบู่
การเลี้ยงปลาบู่
ปลาบู่มีราคาแพงจึงเป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศจำนวนมาก ทำให้มีผู้สนใจเลี้ยงปลาบู่อย่างกว้างขวาง การเลี้ยงปลาบู่มีเลี้ยงกันใน บ่อซีเมนต์ บ่อดิน และกระชัง แต่ที่นิยมเลี้ยงกันมากเป็นการเลี้ยงในกระชัง ส่วนบ่อดินก็มีผู้เลี้ยงกันอยู่บ้างทั้งในรูปแบบการเลี้ยงแบบเดี่ยว แบบรวม และแบบผสมผสาน สำหรับการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ มีการเลี้ยงอยู่น้อยมาก เพราะลงทุนสูงและต้องการน้ำสะอาดในการเลี้ยง
รูปแบบการเลี้ยงปลาบู่
การเลี้ยงปลาบู่ในบ่อดิน ส่วนใหญ่เลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่น เช่น เลี้ยงร่วมกับปลานิลเพื่อไว้คุมจำนวนประชากรของลูกปลานิลไม่ให้แน่นบ่อเช่นเดียวกับปลาช่อน นอกจากนี้ ยังมีการเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นใต้เล้าไก่หรือเล้าหมูโดยปล่อยอัตราส่วนปลาบู่ต่ำซึ่งขึ้นอยู่กับผู้เลี้ยงจะหาซื้อพันธุ์ได้มากน้อยเท่าใด เมื่อเลี้ยงปลามีน้ำหนัก 400-800 กรัมขึ้นไป จึงจับจำหน่าย แล้วหาพันธุ์ปลามาปล่อยชดเชย อาหารที่ให้เป็นพวกปลาเป็ดบดปั้นเป็นก้อนๆใส่ลงในเรือแจวให้อาหารเป็นจุดๆ รอบบ่อ จุดที่ให้อาหารมีกระบะไม้ปักอยู่เหนือก้นบ่อเล็กน้อย ในช่วงตอนเย็นปริมาณอาหารที่ให้ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปลา ใช้เวลาเลี้ยงเพียง 8-12 เดือน จับจำหน่าย น้ำหนักปลาที่นิยมรับซื้อตั้งแต่ 400-800 กรัม ไม่เกิน 1 กิโลกรัม
การลี้ยงปลาบู่ในกระชัง ปลาบู่เป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงในกระชัง เนื่องจากสามารถเลี้ยงได้หนาแน่นในที่แคบได้ และเป็นปลากินเนื้อจึงไม่จำเป็นต้องพึ่งอาหารธรรมชาติมากนัก ถึงแม้ว่าปลาบู่มีนิสัยชอบอยู่นิ่งเป็นส่วนใหญ่ แต่ชอบที่ที่มีน้ำไหลผ่านโดยเฉพาะน้ำที่มีความขุ่นยิ่งดีเพราะปลาบู่ตกใจง่ายเมื่อเลี้ยงในน้ำใส ปลาบู่เป็นปลาที่มีราคาแพง ที่ปากกระชังราคากิโลกรัมละ 320 บาท(ราคาปี 2541) การเลี้ยงปลาบู่ในกระชัง เลือกสถานที่ การเลือกที่ที่เหมาะสมในการวางกระชังปลาบู่นับเป็นจุดเริ่มต้นการเลี้ยงที่สำคัญที่สุด ถ้าเลือกสถานที่เลี้ยงได้ดี ทำให้ปลาบู่เจริญเติบโตเร็ว อัตรารอดสูง ทุนค่าใช้จ่ายในการจัดการ
สถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงปลาบู่ในกระชัง คือ
คุณสมบัติของน้ำดีและมีปริมาณเพียงพอตลอดปี
ใกล้แหล่งหาพันธุ์ปลาและอาหารปลาหาได้ง่ายราคาถูก
การคมนาคมสะดวกต่อการลำเลียงพันธุ์ปลาและอาหารปลา
ไม่อยู่ใกล้แหล่งอุตสาหกรรมและพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีสำหรับการเกษตรมากนักเพื่อหลีกเลี่ยงสารพิษที่ปนมากับน้ำ
น้ำมีความขุ่นพอสมควรเพราะปลาบู่ชอบที่มืด ช่วยให้ปลากินอาหารได้ดีและไม่ตกใจง่าย
ความลึกของน้ำไม่ควรต่ำกว่า 2 เมตร
มีกระแสน้ำที่ไหลแรงพอควร
ปลอดภัยจากการถูกลักขโมย
ปราศจากศัตรูและภัยธรรมชาติ
ไม่กีดขวางการสัญจรทางน้ำ และไม่ผิดกฎหมายบ้านเมือง

ปลาช่อน

การเพาะเลี้ยงปลาช่อน
ปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทยอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง และทะเลสาบ มีชื่อสามัญ STRIPED ANAKE-HEAD FISH และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa striatus ปลาช่อนเป็นปลาที่มีรสชาติดี ก้างน้อย สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด จึงทำให้การบริโภคปลาช่อนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่ปัจจุบันปริมาณปลาช่อนที่จับได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลง เนื่องจากการทำประมงเกินศักยภาพการผลิตตลอดจนสภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำเสื่อมโทรมตื้นเขิน ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต ทำให้ปริมาณปลาช่อนในธรรมชาติไม่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์และความต้องการบริโภค การเลี้ยงปลาช่อนจึงเป็นแนวทางหนึ่งซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนโดยนำลูกปลาที่รวบรวมได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติและจากการเพาะขยายพันธุ์มาเลี้ยงให้เป็นปลาโตขนาดตลาดต้องการต่อไป
อุปนิสัย
โดยธรรมชาติปลาช่อนเป็นปลาประเภทกินเนื้อ กินสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ รวมทั้งปลาขนาดเล็กและแมลงในน้ำชนิดต่างๆ เป็นอาหารเมื่ออาหารขาดแคลน ปลาจะมีพฤติกรรมกินกันเองโดยปลาช่อนตัวใหญ่จะกินปลาตัวเล็ก
รูปร่างลักษณะ
ปลาช่อนเป็นปลาที่มีเกล็ด ลำตัวอ้วนกลม ยาวเรียว ท่อนหางแบนข้าง หัวแบนลง เกล็ดมีขนาดใหญ่ ปากกว้างมาก มีฟันซี่เล็กๆ อยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง ครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลังและครีบก้นยาวจนเกือบถึงโคนหาง ครีบหางกลม ลำตัวส่วนหลังมีสีดำ ท้องสีขาว ด้านข้างลำตัวมีลายดำพาดเฉียง มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ ปลาช่อนจึงสามารถเคลื่อนไหวไปบนบกหรือฝังตัวอยู่ในโคลนได้เป็นเวลานานๆ
การผสมพันธุ์วางไข่
ปลาช่อนสามารถวางไข่ได้เกือบตลอดปี สำหรับฤดูกาลผสมพันธุ์วางไข่จะเริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคม – ตุลาคม ช่วงที่มีความพร้อมที่สุดคือเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม
ในฤดูวางไข่ จะสังเกตความแตกต่างระหว่างปลาเพศผู้กับเพศเมียอย่างเห็นได้ชัดคือ ปลาเพศเมีย ลักษณะท้องจะอูมเป่ง ช่องเพศขยายใหญ่ มีสีชมพูปนแดง ครีบท้องกว้างสั้น ส่วนปลาเพศผู้ ลำตัวมีสีเข้มใต้คางจะมีสีขาว ลำตัวยาวเรียวกว่าปลาเพศเมีย
ตามธรรมชาติปลาช่อนจะสร้างรังวางไข่ในแหล่งน้ำนิ่งความลึกของน้ำประมาณ 30 –100 เซนติเมตร โดยปลาตัวผู้จะเป็นผู้สร้างรังด้วยการกัดหญ้าหรือพรรณไม้น้ำ และใช้หางโบกพัดตลอดเวลาเพื่อที่จะทำให้พื้นที่เป็นรูปวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 –40 เซนติเมตร ปลาจะกัดหญ้าที่บริเวณกลางของรัง ส่วนพื้นดินใต้น้ำ ปลาก็จะตีแปลงจนเรียบ หลังจากที่ปลาช่อนได้ผสมพันธุ์วางไข่แล้ว พ่อแม่ปลาจะคอยรักษาไข่อยู่ใกล้ๆ เพื่อมิให้ปลาหรือศัตรูอื่นเข้ามากินจนกระทั่งไข่ฟักออกเป็นตัว ในช่วงนี้พ่อแม่ปลาก็ยังให้การดูแลลูกปลาวัยอ่อน เมื่อลูกปลามีขนาด 2 – 3 เซนติเมตร จึงแยกตัวออกไปหากินตามลำพังได้ ซึ่งระยะนี้เรียกว่า ลูกครอก หรือลูกชักครอก ลูกปลาขนาดดังกล่าวน้ำหนักเฉลี่ย 0.5 กรัม ปลา 1 กิโลกรัมจะมีลูกครอก ประมาณ 2,000 ตัว ลูกครอกระยะนี้จะมีเกษตรกรผู้รวบรวมลูกปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นอาชีพนำมาจำหน่ายให้แก่ผู้เลี้ยงปลาอีกต่อหนึ่งในราคากิโลกรัมละ 70 – 100 บาท ซึ่งรวบรวมได้มากในระหว่างเดือนมิถุนายน – ธันวาคม
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
ปลาช่อนที่นำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ควรเป็นปลาที่มีรูปร่าง ลักษณะสมบูรณ์ ไม่บอบช้ำและมีน้ำหนักตั้งแต่ 800 – 1,000 กรัมขึ้นไป และอายุ 1 ปีขึ้นไป
ลักษณะแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ปลาช่อนที่ดีซึ่งเหมาะสมจะนำมาใช้ในการเพาะพันธุ์ แม่พันธุ์ควรมีส่วนท้องอูมเล็กน้อย ลักษณะติ่งเพศมีสีแดงหรือสีชมพูอมแดง ถ้าเอามือบีบเบาๆที่ท้องจะมีไข่ไหลออกมามีลักษณะกลมสีเหลืองอ่อน ใส ส่วนพ่อพันธุ์ติ่งเพศควรจะมีสีชมพูเรื่อๆปลาไม่ควรจะมีรูปร่างอ้วนหรือผอมมากเกินไป เป็นปลาขนาดน้ำหนัก 800 – 1,000 กรัม
การเพาะพันธุ์ปลาช่อน
ปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งที่ประชาชนนิยมบริโภค ทำให้ปริมาณปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด สำหรับเกษตรกรนิยมเลี้ยงปลาช่อน เนื่องจากเป็นปลาที่มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว ทนทานต่อโรคและสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งนี้ ลูกปลาช่อนที่เกษตรกรรวบรวมได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาช่อนดังนั้นการเพาะพันธุ์ปลาจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตพันธุ์ปลาช่อน
ในการเพาะพันธุ์ปลาช่อนต้องคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาช่อนที่มีความสมบูรณ์ ซึ่งจะมีอายุ 1ปีขึ้นไป ขนาดน้ำหนัก 800 – 1,000 กรัม บ่อเพาะพันธุ์ควรมีระดับความลึกของน้ำประมาณ 1.0 – 1.5 เมตร และมีการถ่ายเทน้ำบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นให้ปลากินอาหารได้ดี มีการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ให้สมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้พ่อแม่พันธุ์ปลาช่อนมีน้ำเชื้อและไข่ที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
การเพาะพันธุ์ปลาช่อน ทำได้ 2 วิธี คือ
1. การเพาะพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ วิธีนี้ควรใช้บ่อเพาะพันธุ์เป็นบ่อดินขนาด 0.5 – 1.0 ไร่ พร้อมทั้งจัดสภาพสิ่งแวดล้อมเลียนแบบธรรมชาติ โดยปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในอัตรา 1:1 ให้ปลาเป็ดผสมรำเป็นอาหารในปริมาณ 2.5 – 3.0 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปลา
2. การเพาะพันธุ์โดยวิธีการผสมเทียมด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์
สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสิงห์บุรี ดำเนินการเพาะพันธุ์ปลาช่อนด้วยวิธีผสมเทียมโดยใช่ฮอร์โมนสังเคราะห์ฉีดเร่งให้แม่ปลาช่อนวางไข่เพื่อที่จะรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อหรือปล่อยให้ผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ใช้ได้แก่ LHRHa หรือ LRH – a โดยใช้ร่วมกับโดมเพอริโดน (Domperidone) การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาช่อนโดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลาช่อนวางไข่นั้น ด้วยการฉีดเพียงครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 30 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักแม่ปลา 1 กิโลกรัม ร่วมกับโดมเพอริโดน 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแม่ปลา 1 กิโลกรัม ส่วนพ่อพันธุ์ใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ระดับความเข้มข้น 15 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักพ่อปลา 1 กิโลกรัมร่วมกับโดมเพอริโดน 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักพ่อปลา 1 กิโลกรัม จากนั้นประมาณ 8–10 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อได้เนื่องจากไข่ปลาช่อนมีไขมันมากเมื่อทำการผสมเทียมจึงต้องล้างน้ำหลายๆครั้ง เพื่อขจัดคราบไขมัน นำไข่ไปฟักในถังไฟเบอร์กลาสขนาด 2 ตัน ภายในถังเพิ่มออกชิเจนผ่านหัวทรายโดยเปิดเบาๆ ในกรณีที่ปล่อยให้พ่อแม่ปลาผสมพันธุ์กันเอง หลังจากที่แม่ปลาวางไข่แล้วต้องแยกไข่ไปฟักต่างหากเช่นกัน
การฟักไข่
ไข่ปลาช่อนมีลักษณะกลมเล็ก เป็นไข่ลอย มีไขมันมาก ไข่ที่ดีมีสีเหลือง ใส ส่วนไข่เสียจะทึบ ไข่ปลาช่อนฟักเป็นตัวภายในเวลา 30 –35 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิของน้ำ 27 องศาเซลเซียส ความเป็นกรด - ด่าง 7.8 ความกระด้าง 56 ส่วนต่อล้าน
การอนุบาลลูกปลาช่อน
ลูกปลาที่ฟักออกมาเป็นตัวใหม่ๆ ลำตัวมีสีดำ มีถุงไข่แดงสีเหลืองใสปลาจะลอยตัวในลักษณะหงายท้องขึ้นอยู่บริเวณผิวน้ำ ลอยอยู่นิ่งๆไม่ค่อยเคลื่อนไหว หลังจากนั้น 2 – 3 วันจึงพลิกตัวกลับลง และว่ายไปมาตราปกติโดยว่ายรวมกันเป็นกลุ่มบริเวณผิวน้ำ
ลูกปลาช่อนที่ฟักออกมาเป็นตัวใหม่ๆใช้อาหารในถุงไข่แดงที่ติดมากับตัว เมื่อถุงไข่แดงยุบ วันที่ 4 จึงเริ่มให้อาหารโดยใช้ไข่แดงต้มสุกบดละลายกับน้ำผ่านผ้าขาวบางละเอียดให้ลูกปลากินวันละ 3 ครั้ง เมื่อลูกปลามีอายุย่างเข้าวันที่ 6 จึงให้ไรแดงเป็นอาหารอีก 2 สัปดาห์ และฝึกให้อาหารเสริม เช่น ปลาป่น เนื้อปลาสดบด โดยใส่อาหารในแท่นรับอาหารรูปสี่เหลี่ยมซึ่งมีทุ่นผูกติดอยู่ ถ้าให้อาหารไม่เพียงพออัตราการเจริญเติบโตของลูกปลาจะแตกต่างกัน และพฤติกรรมการกินกันเอง ทำให้ตราการรอดตายต่ำจึงต้องคัดขนาดลูกปลา การอนุบาลลูกปลาช่อนโดยทั่วไปจะมีอัตราการรอดประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวันๆละ 50 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำ
การเตรียมบ่อเลี้ยงปลา
การเลี้ยงปลาช่อนเพื่อให้ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการนั้น นิยมเลี้ยงในบ่อดิน ซึ่งมีหลักการเตรียมบ่อดินเหมือนกับการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาทั่วๆไป ดังนี้
1. ตากบ่อให้แห้ง
2. ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดิน ในอัตราประมาณ 60 – 100 กิโลกรัม / ไร่ ทิ้งไว้ประมาณ 5 – 7 วัน
3. ใส่ปุ๋ยคอกเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติสำหรับลูกปลา ในอัตราประมาณ 40 – 80 กิโลกรัม/ไร่
4. สูบน้ำเข้าบ่อโดยกรองน้ำเพื่อไม่ให้ศัตรูของลูกปลาติดเข้ามากับน้ำ จนกระทั่งมีระดับน้ำลึก 30–40 เซนติเมตร ระยะไว้ 1 – 2 วันจึงปล่อยลูกปลา ลูกปลาจะได้มีอาหารกินหลังจากที่ได้เตรียมอาหารธรรมชาติในบ่อ (ข้อ 3) เรียบร้อยแล้ว
5. ก่อนปล่อยลูกปลาลงบ่อเลี้ยงจะต้องปรับสภาพอุณหภูมิของน้ำ ในภาชนะลำเลียงและบ่อให้ใกล้เคียงกัน สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปล่อยลูกปลาควรเป็นตอนเย็นหรือตอนเช้า
ขั้นตอนการเลี้ยง
ปลาช่อนเป็นปลากินเนื้อ อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาช่อนเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง โดยทั่วไปเกษตรกรนิยมเลี้ยงด้วยปลาเป็ด
1. อัตราการปล่อยปลา ลูกปลาขนาด 8 – 10 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 30 – 35 ตัว / กิโลกรัม ควรปล่อยในอัตรา 40-50 ตัว/ตารางเมตร และเพื่อป้องกันโรคซึ่งอาจจะติดมากับลูกปลา ให้ใช้น้ำยาฟอร์มาลินใส่ในบ่อเลี้ยงอัตราความเข้มข้นประมาณ 30 ส่วนในล้าน (3 ลิตร / น้ำ 100 ตัน) ในวันแรกที่จะปล่อยลูกปลาไม่จำเป็นต้องให้อาหาร ควรเริ่มให้อาหารในวันรุ่งขึ้น
2. การให้อาหาร เมื่อปล่อยลูกปลาช่อนลงในบ่อดินแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงลูกปลาช่อนมีขนาดเล็ก คือ ปลาเป็ดผสมรำในอัตราส่วน 4 : 1 หรืออัตราส่วนปลาเป็ด 40 เปอร์เซ็นต์ รำ 30 เปอร์เซ็นต์ หัวอาหาร 30 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณอาหารที่ให้ไม่ควรเกิน 4 – 5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวปลา วางอาหารไว้บนตะแกรงหรือภาชนะแบนลอยไว้ใต้ผิวน้ำ 2 – 3 เซนติเมตร ควรวางไว้หลายๆจุด
3. การถ่ายเทน้ำ ช่วงแรกความลึกของน้ำในบ่อควรอยู่ที่ระดับ 30 – 40 เซนติเมตร แล้วค่อยๆเพิ่มระดับน้ำ สัปดาห์ละ 10 เซนติเมตร จนได้ระดับ 50 เซนติเมตร จึงถ่ายน้ำวันละครั้ง หลังจากอนุบาลลูกปลาในบ่อดินประมาณ 2 เดือน ปลาจะเติบโตไม่เท่ากัน ใช้อวนลากลูกปลาเพื่อคัดขนาด มิฉะนั้นปลาขนาดใหญ่จะกินปลาขนาดเล็ก
4. ผลผลิต หลังจากอนุบาลปลาในช่วง 2 เดือนแล้ว ต้องใช้เวลาเลี้ยงอีกประมาณ 4 – 5 เดือน จะให้ผลผลิต 1 – 2 ตัว/กิโลกรัม เช่นเนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน จะได้ผลผลิตมากกว่า 6,000 กิโลกรัม
5. การจับ เมื่อปลาโตได้ขนาดตลาดต้องการจึงจับจำหน่าย ก่อนจับปลาควรงดอาหาร 1 – 2 วัน
6. การป้องกันโรค โรคของปลาช่อนที่เลี้ยงมักจะเกิดจากปัญหา คุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี ซึ่งสาเหตุเกิดจากการให้อาหารมากเกินไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้ โดยการหมั่นสังเกตว่าเมื่อปลาหยุดกินอาหารจะต้องหยุดการให้อาหารทันที
ผลผลิต
ช่วงเวลาในการเลี้ยงปลาช่อนประมาณ 8 – 9 เดือน สำหรับปลาลูกครอก ส่วนปลาช่อนที่เริ่มเลี้ยงจากขนาดปลารุ่น 20 ตัว / กิโลกรัม ถึงขนาดตลาดต้องการ ใช้เวลาเลี้ยงอีก 5 เดือน น้ำหนักจะอยู่ระหว่าง 0.6 – 1.0 กิโลกรัม โดยทั่วไปน้ำหนักปลาที่ตลาดต้องการขนาด 0.5 – 0.7 กิโลกรัม สำหรับอัตราแลกเนื้อประมาณ 5 – 6 : 1 กิโลกรัม ผลผลิต 12 ตัน/ไร่
สำหรับปลาผอมและเติบโตช้า เกษตรกรเลี้ยงปลาช่อนเรียกว่า ปลาดาบ นอกจากนี้น้ำที่ระบายออกจากบ่อปลาช่อน ควรนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเลี้ยงปลากินพืช เช่น ปลาบึก ปลานิล ฯลฯ
การลำเลียง
ใช้ลังไม้รูปสี่เหลียมผืนผ้าภายในกรุสังกะสีกว้าง 58 เซนติเมตร ยาว 94 เซนติเมตร ความสูง 38 เซนติเมตร จุปลาได้ 50 กิโลกรัม สามารถขนส่งโดยรถยนต์บรรจุไปทั่วประเทศ จังหวัดสุพรรณบุรีจัดว่าเป็นแหล่งเลี้ยงและส่งจำหน่ายปลาช่อนอับดับหนึ่งของประเทศโดยส่งไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่าภาคอื่นๆ สำหรับภาควันออกเฉียงเหนือต้องการปลาน้ำหนัก 300 – 400 กรัม และ 700 – 800 กรัม ส่วนภาคเหนือต้องการปลาน้ำหนักมากกว่า 300 – 400 กรัม และ มากกว่า 500 กรัมขึ้นไป

โรคปลาและการป้องกัน
โรคพยาธิและอาการของปลาช่อนส่วนใหญ่ได้แก่
1. โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย คือ แอโรโมนาส โฮโดรฟิลา เฟลคซิแบคเตอร์ คอลัมนาริส และไมโครแบคทีเรียม อาการของโรคโดยทั่วไปที่พบ ได้แก่ ผิวหนังบริเวณเกล็ดเกิดแผลที่มีลักษณะช้ำเป็นจุดแดงๆ สีลำตัวซีดหรือด่างขาว เมือกมากผิดปรกติ เกล็ดหลุด แผลเน่าเปื่อย ว่ายน้ำผิดปรกติ เสียการทรงตัวหรือตะแคงข้าง เอาตัวซุกขอบบ่อ ครีบเปื่อยแหว่งตาฟางหรือตาขุ่นขาว ตาบอด ปลาจะกินอาหารน้อยลง
2. โรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก อาทิ เห็บระฆัง ปลิงใส ฯลฯ พยาธิเห็บระฆังจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง เป็นแผลขนาดเล็กตามผิวตัวและเหงือก การรักษาใช้ฟอร์มาลิน 150-200 ลิตร ต่อน้ำ1,000 ลิตรแช่ประมาณ 24 ชั่วโมง หรือ 25-50 ซีซี. ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ประมาณ 24 ชั่วโมง
3. โรคที่เกิดจากพยาธิภายใน เช่น พยาธิหัวหนาม พบในลำไส้ ลักษณะอาการตัวผอมและกินอาหาร ลดลง การรักษาใช้ยาถ่ายพยาธิ แต่ทางที่ดีควรใช้วิธีป้องกัน
วิธีป้องกันโรค
ในฟาร์มที่มีการจัดการที่ดีจะไม่ค่อยประสบปัญหาปลาเป็นโรคแต่ในฟาร์มที่มีการจัดการไม่ดี ปัญหาปลาเป็นโรคตายมักจะเกิดขึ้นเสมอบางครั้งปลาอาจตายในระหว่างการเลี้ยงสูงถึง 60 –70 เปอร์เซ็นต์ ประกอบกับปลาเป็ดที่นำมาใช้เลี้ยงในปัจจุบันคุณภาพมักจะไม่สดเท่าที่ควรและหากมีเศษอาหารเหลือตกค้างในบ่อจะทำให้บ่อเกิดการเน่าเสียเป็นเหตุให้ปลาตาย ดังนั้นจึงควรมีวิธีป้องกันดังนี้คือ
1. ควรเตรียมบ่อและน้ำตามวิธีการที่เหมาะสมและปลอดภัยก่อนปล่อยลูกปลา
2. ซื้อพันธุ์ปลาที่มีสุขภาพแข็งแรงและปราศจากโรค
3. หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเห็นอาการผิดปรกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว
4. หลังจากปล่อยปลาลงเลี้ยงแล้ว 3 – 4 วัน ควรราดน้ำยาฟอร์มาลิน 2 – 3 ลิตรต่อปริมาณ/ปริมาตรน้ำ 100 ตัน และหากปลาที่เลี้ยงเกิดโรคพยาธิภายนอกให้แก้ไขโดยสาดน้ำยาฟอร์มาลินในอัตรา 4 – 5 ลิตรต่อปริมาณ/ปริมาตรน้ำ 100 ตัน (การใช้น้ำยาฟอร์มาลินควรระวังเรื่องปริมาณออกซิเจนในน้ำ ถ้าต่ำมากควรมีการให้อากาศด้วย)
5. เปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับพื้นบ่ออย่างสม่ำเสมอ
6. อย่าให้อาหารมากเกินความต้องการของปลา
ต้นทุนการผลิต
1. ต้นทุนผันแปร
- ค่าพันธุ์ปลาที่อัตราการปล่อย 2,000 กิโลกรัม/ไร่ ราคากิโลกรัมละ 45 บาท เป็นเงิน 90,000 บาท
- ค่าอาหารที่อัตราผลผลิตเฉลี่ย 7 ตัน/ ไร่ และอัตราแลกเนื้อ(5:1) ราคาอาหารกิโลกรัมละ 6 – 7 บาท เป็นเงิน 210,000 – 250,000 บาท/ ไร่
- ค่าปูนขาว อัตรา 100 กิโลกรัม / ไร่ เป็นเงิน 120 บาท / ไร่
- ค่ายาและสารเคมี 1,000 บาท / ไร่
- ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 1,000 – 1,200 บาท / ไร่
2. ต้นทุนคงที่
- ค่าขุดบ่อ 5,000 บาท / ไร่
- ค่าก่อคอนกรีตผนังบ่อ 40,000 บาท / ไร่
แนวโน้มด้านการตลาด
ปลาช่อนเป็นปลาที่มีรสชาติดีอีกทั้งยัง สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายรูปแบบ จึงมีผู้นิยมบริโภคอย่างแพร่หลายทำให้แนวโน้มด้านการตลาดดี สามารถส่งผลผลิตและผลิตภัณฑ์ไปสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศได้
ปัญหาอุปสรรค
1. เนื่องจากปลาช่อนเป็นปลากินเนื้อและกินจุ จำเป็นต้องมีปริมาณน้ำเพียงพอเพื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำในช่วงการเลี้ยง
2. ต้นทุนอาหารการเลี้ยงปลาส่วนใหญ่หากใช้ปลาทะเลเป็นหลักซึ่งมีราคาสูงขึ้นก็จะมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตปลาช่อนสูงขึ้นตามไปด้วย

ปลานิล

ปลานิล Tilapia nilotica เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปี 2508 เป็นต้นมา สามารถเลี้ยงได้ในทุกสภาพ การเพาะเลี้ยง ระยะเวลา 1 ปีมีอัตราการเติบโตถึงขนาด 500 กรัม รสชาติดี มีผู้นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวางส่วนขนาดปลาที่ตลาดต้องการจะมีน้ำหนักตัวละ 200-300 กรัม จากคุณสมบัติของปลานิลซึ่งเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว แต่ปัจจุบันปลานิลพันธุ์แท้ค่อนข้าง จะหายาก กรมประมง จึงได้ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ปลาเพื่อให้ได้ปลานิลที่มีลักษณะสายพันธุ์ดี อาทิ การเจริญเติบโต ปริมาณความดก ของไข่ ผลผลิตและความต้านทานโรค เป็นต้น ดังนั้นผู้เลี้ยงปลานิล จะได้ความมั่นใจในการเลี้ยงปลานิลเพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำให้เพียงพอต่อการบริโภค
ความเป็นมา
ตามที่พระจักรพรรดิอากิฮิโตเมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่นทรงจัดส่ง ปลานิล จำนวน 50 ตัว ความยาวเฉลี่ยตัวละประมาณ 9 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 14 กรัม มาทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2508 นั้น ในระยะแรกได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ปล่อยลงเลี้ยง ในบ่อดินเนื้อที่ประมาณ 10 ตารางเมตร ในบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อเลี้ยงมา 5 เดือนเศษ ปรากฎว่ามีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่สวนหลวงขุดบ่อขึ้นใหม่อีก 6 บ่อ มีเนื้อที่เฉลี่ยบ่อละประมาณ 70 ตารางเมตร ซึ่งในโอกาสนี้พระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่ได้ทรงย้ายพันธุ์ปลาด้วย พระองค์เอง จากบ่อเดิมไป ปล่อยในบ่อ ใหม่ทั้ง 6 บ่อ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2508 ต่อจากนั้น ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้กรมประมง จัดส่งเจ้าหน้าที่วิชาการมาตรวจสอบการเจริญเติบโตเป็นประจำทุกเดือน
โดยที่ปลานิลนี้เป็นปลาจำพวกกินพืช เลี้ยงง่าย มีรสดี ออกลูกดก เจริญเติบโตได้รวดเร็ว ในเวลา 1 ปีจะมี น้ำหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม และมีความยาวประมาณ 1 ฟุต จึงได้มีพระราชประสงค์ที่จะ ให้ปลา นี้แพร่ขยายพันธุ์ อันจะเป็นประโยชน์แก่พสกนิกรของพระองค์ต่อไป ดังนั้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2509 จึงทรงพระกรุณาโปรกเกล้าฯ พระราชทานชื่อปลานิลนี้ว่า "ปลานิล" และได้พระราชทานปลานิล ขนาดยาว 3-5 เซนติเมตร จำนวน 10,000 ตัว ให้แก่กรมประมงนำไปเพาะเลี้ยง ขยายพันธุ์ ที่แผนทดลอง และเพาะเลี้ยง ในบริเวณเกษตรกลาง บางเขน และที่ สถานีประมงต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักรอีกรวม 15 แห่ง เพื่อดำเนินการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์พร้อมกัน ซึ่งเมื่อ ปลานิลแพร่ขยายพันธุ์ออกไปได้มากเพียงพอแล้ว จึงได้แจกจ่ายให้แก่ราษฎรนำไปเพาะ เลี้ยงตามความ ต้องการต่อไป
รูปร่างลักษณะ
ปลานิลเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลชิคลิดี (Cichlidae) มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในทวีปแอฟริกา พบทั่วไป ตามหนอง บึง และทะเลสาบ ในประเทศซูดานยูกันดา แทนแกนยีกา โดยที่ปลานิลนี้ เจริญเติบ โตเร็ว และเลี้ยงง่าย เหมาะสมที่จะนำมาเพาะเลี้ยงในบ่อได้เป็นอย่างดีจึงได้รับความ นิยมและ เลี้ยง กันอย่างแพร่หลายในภาคพื้นเอเซีย แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาก็นิยมเลี้ยงปลาชนิดนี้
รูปร่างลักษณะของปลานิลคล้ายกับปลาหมอเทศแต่ลักษณะพิเศษของปลานิลมีดังนี้คือ ริมฝีปากบนและล่าง เสมอกัน ที่บริเวณแก้มมีเกล็ด 4 แถว ตามลำตัวมีลายพาดขวางจำนวน 9-10 แถบ นอกจากนั้นลักษณะทั่วไปมีดังนี้ ครีบหลังมีเพียง 1 ครีบ ประกอบด้วยก้านครีบแข็งและก้านครีบอ่อน เป็นจำนวนมาก ครีบก้นประกอบด้วยก้านครีบ แข็งและอ่อนเช่นกันมีเกล็ด ตามแนวเส้นข้างตัว 33 เกล็ด ลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล ตรงกลางเกล็ดมีสีเข้ม ที่ กระดูก แก้มมีจุดสีเข้มอยู่จุดหนึ่ง บริเวณส่วนอ่อนของ ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางนั้นจะมีจุดสีขาว และสีดำ ตัดขวางแลด คล้ายลายข้าวตอกอยู่โดยทั่วไป

สายพันธุ์ปลาทอง

ปลาทองสายพันธุ์ต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ปลาทองมีความหลากหลายในสายพันธุ์ทำให้เป็นที่นิยมของนักเลี้ยงปลาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปัจจุบันมีสายพันธุ์ปลาทองมากกว่า 100 สายพันธุ์ การตั้งชื่อปลาทองแต่ละสายพันธุ์นั้นจะตั้งชื่อตามลักษณะลำตัวและลักษณะครีบ ซึ่งเราสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่มดังนี้ พวกที่มีลำตัวแบนยาว (Flat body type) ปลาในกลุ่มนี้ส่วนมาก มีลำตัวแบนข้างและมีครีบหางเดี่ยว ยกเว้นปลาทองวากิงซึ่งมีครีบหางคู่ ปลาในกลุ่มนี้จะว่ายน้ำได้ปราดเปรียวและรวดเร็ว เลี้ยงง่ายทนทานต่อสภาพแวดล้อม มีความแข็งแรงมากที่สุดในบรรดากลุ่มปลาทองทั้งหมด เจริญเติบโตเร็วเหมาะที่จะเลี้ยงในบ่อ สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงได้แก่+ ปลาทองธรรมดา (Common goldfish) มีลักษณะเหมือนปลาทองที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติมีสีส้ม เขียว ทอง และขาว มีจุดหรือลายสีดำ ลำตัวค่อนข้างยาว และแบนข้าง+ ปลาทองโคเมท (Comet goldfish) ปลาทองชนิดนี้พัฒนามาจาก Common goldfish มีครีบยาวเรียวออกไป โดยเฉพาะครีบหาง ซึ่งอาจจะมีความยาวมากกว่า เศษสามส่วนสี่ หรือหนึ่งเท่าของความยาวลำตัวทำให้ว่ายน้ำได้รวดเร็ว เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ลำตัวมีสีส้ม ขาวเงิน และเหลือง เป็นปลาที่ได้รับความนิยมมากในสหรัฐอเมริกา+ ปลาทองชูบุงกิง (Shubunkin) ปลาทองสายพันธุ์นี้คัดพันธุ์ได้ที่ประเทศญี่ปุ่น มีลำตัวเรียวยาวคล้ายปลาทองธรรมดา แต่มีครีบทุกครีบยาวใหญ่สมบูรณ์กว่าปลาทองพันธุ์ธรรมดามาก ปลายครีบหางมนกลม ลำตัวอาจมีสีแดง ส้ม ขาว ขาวและแดง หรืออาจมีหลายสี มี 2 สายพันธุ์ คือ londonshubunkin และ Bristol shubunkin สายพันธุ์ Bristol shubunkin จะมีครีบหางใหญ่กว่าชนิด London shubunkin+ ปลาทองวากิง (Wakin) ปลาทองพันธุ์นี้คัดพันธุ์ได้ที่ประเทศจีน ลำตัวมีสีแดงสดใส และสีขาวสายพันธุ์นี้จัดอยู่ในกลุ่มที่มีลำตัวแบนยาวแต่มีครีบหางเป็นคู่ พวกที่มีลำตัวกลมหรือรูปไข่ (Round หรือ egg-shaped body type) ปลาในกลุ่มนี้มีจำนวนมากแบ่งเป็นหลายสายพันธุ์ มีลักษณะครีบ หัวและนัยน์ตาที่แตกต่างกันหลากหลาย ซึ่งสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 2 กลุ่ม โดยพิจารณาจากลักษณะครีบดังนี้ * พวกที่มีครีบหลัง มีลำตัวสั้น มีครีบยาวและครีบหางเป็นคู่ เช่น + ปลาทองริวกิ้น (Ryukin) เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นเนื่องจากเป็นปลาที่มีรูปร่างและสีสันสวยงาม มีท่วงท่าการว่ายน้ำที่สง่างาม ลักษณะเด่น คือ ลำตัวด้านข้างกว้างและสั้น ส่วนท้องอ้วนกลม มองจากด้านหน้าโหนกหลังสูงขึ้นมากทำให้ส่วนหัวแลดูเล็กครีบหลังใหญ่ยาวและตั้งขึ้น ครีบหาง เว้าลึกยาวเป็นพวง ทำให้มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันอีกหลายชื่อ เช่นVeiltail และ fantail เป็นต้น เกล็ดหนา สีที่พบมากมีทั้งสีแดง ขาว ขาว-แดง และส้ม หรือมีห้าสี คือ แดง ส้ม ดำ ขาว ฟ้า ซึ่งในบ้าน เรานิยมเรียกว่า ริวกิ้นห้าสี + ปลาทองออแรนดา (Oranda) ปลาพันธุ์นี้เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์หัวสิงห์และพันธุ์ริวกิ้น อาจเรียกว่า Fantail lionhead ปลาทองพันธุ์ออแรนดา (Oranda) จะมีลักษณะลำตัวค่อนข้างยาวกว่าปลาทองพันธุ์หัวสิงห์และริวกิ้น ลำตัวคล้ายรูปไข่หรือรูปรี ส่วนท้องไม่ป่องมาก ครีบทุกครีบยาวใหญ่โดยเฉพาะครีบหางจะยาวแผ่ห้อยสวยงามมาก ปลาทองพันธุ์นี้แบ่งเป็นพันธุ์ย่อย ๆ ได้อีก ตามลักษณะหัวและสีได้แก่
+ ออแรนดาธรรมดา มีลำตัวค่อนข้างยาวรี หัวไม่มีวุ้น ครีบทุกครีบยาวมาก+ ออแรนดาหัววุ้น ลำตัวและหางไม่ยาวเท่าออแรนดาธรรมดา แต่บริเวณหัวจะมีวุ้นคลุมอยู่คล้ายกับหัวปลาทองพันธุ์หัวสิงห์แต่วุ้นจะไม่ปกคลุมส่วนของหัวทั้งหมด จะมีวุ้นเฉพาะตรงกลางของส่วนหัวเท่านั้น และวุ้นที่ดีจะต้องมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมเมื่อมองจากด้านบน+ ออแรนดาหัวแดง (Red cap oranda) คือ ออแรนดาหัววุ้นนั่นเองแต่จะมีวุ้นบนหัวเป็นสีแดง และลำตัวมีสีขาวภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ตันโจ มีลักษณะลำตัวสีขาวเงิน วุ้นบนหัวเป็นก้อนกลมสีแดง คล้ายปลาสวมหมวกสีแดง+ ออแรนดาห้าสี (Calico oranda) ลักษณะเหมือนออแรนดาหัววุ้นทั่วไป แต่มีสีลำตัว 5 สี คือ ฟ้า ดำ ขาว แดง ส้ม+ ออแรนดาหางพวง (Vailtail) ลักษณะครีบหางจะยาวเป็นพวง ครีบหลังพริ้วยาว ที่หัวมีวุ้นน้อยหรือไม่มีเลย ส่วนของลำตัวใหญ่สั้น ท้องกลม แต่ส่วนหลังแบนข้างเล็กน้อย บริเวณโหนกหลังสูงชันมาก ทำให้ส่วนหัวดูแหลมเล็ก ครีบหลังใหญ่ยาวและตั้งสูง ครีบหางเว้าลึกเป็นพวง + ปลาทองเกล็ดแก้ว (Pearl scales goldfish) ปลาทองพันธุ์เกล็ดแก้ว มีลำตัวอ้วนกลมสั้น ส่วนท้องป่องออกมาทั้ง 2 ด้าน เมื่อมองด้านบนจะเห็นเป็นรูปทรงกลม หัวมีขนาดเล็ก ปากแหลม มีลักษณะเด่นที่เกล็ดคือ เกล็ดหนามาก และนูนขึ้นมาเห็นเป็นเม็ดกลม ๆ ซึ่งเกิดจากเกล็ดที่มีสารพวกกัวอานิน (guanine) มากนั่นเอง ลักษณะเกล็ดที่ดีต้องขึ้นครบนูนสม่ำเสมอและเรียงกันอย่างมีระเบียบ ครีบทุกครีบรวมทั้งหางสั้นและต้องกางแผ่ออกไม่หุบเข้าหรืองอ สีที่นิยมได้แก่ สีแดง ส้ม เหลือง ดำ ขาว ขาวแดง ปลาชนิดนี้เลี้ยงยาก ปลาทองเกล็ดแก้วที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยมี 3 สายพันธุ์ ได้แก่ เกล็ดแก้ว หัวมงกุฎ เกล็ดแก้วหน้าหนู และเกล็ดแก้วหัววุ้น + ปลาทองตาโปน (Telescope eyes goldfish) มีลักษณะลำตัวสั้น และส่วนท้องกลมคล้าย ๆ กับพันธุ์ริวกิ้น มีลักษณะเด่นที่ตาทั้งสองข้าง โดยตาจะยื่นโปนออกมาด้านข้างเห็นได้เด่นชัด ถือกันว่าตายิ่งโปนมากยิ่งเป็นลักษณะที่ดี และเมื่อมองจากด้านบนจะต้องมีลักษณะกลมยื่นออกมาเท่ากันทั้งตาซ้ายและตาขวา ครีบทุกครีบและหางจะต้องแผ่กว้าง ปลายไม่หุบเข้า หรืองอไปทางด้านใดด้านหนึ่ง ครีบที่เป็นครีบคู่จะต้องเท่ากันและชี้ไปในทิศทางเดียวกัน (ขนานกัน) ปลาทองพันธุ์นี้ยังแบ่งออกเป็นพันธุ์ย่อย ๆ ได้อีกตามลักษณะสีบนลำตัวและครีบ ได้แก่+ ปลาทองตาโปนสีแดง หรือขาวแดง (Red telescope-eyes goldfish) ลำตัวและครีบจะต้องมีสีแดงเข้ม หรืออาจมีสีขาวสลับสีแดง และสีขาวจะต้องขาวบริสุทธิ์ไม่อมเหลือง จึงจะถือว่าเป็นลักษณะที่ดี+ ปลาทองตาโปน 3 สี หรือ 5 สี (Calico telescope-eyes goldfish) ลำตัวและครีบมีหลายสีในปลาตัวเดียวกัน + ปลาทองพันธุ์เล่ห์ (Black telescope-eyes goldfish หรือ Black moor) ซึ่งได้แก่ ปลาทองที่เรียกว่า รักเล่ห์ หรือเล่ห์นั่นเอง ลักษณะที่ดีของปลาพันธุ์นี้คือ ลำตัวและครีบจะต้องดำสนิทและไม่เปลี่ยนสีไปจนตลอดชีวิต + ปลาทองแพนด้า (Panda) ปลาทองสายพันธุ์นี้นิยมมากในประเทศจีน เป็นปลาทองพันธุ์เล่ห์ที่ได้มีการลอกสีที่ลำตัวจนกลายเป็นสีขาวหรือสีเงิน ส่วนครีบต่าง ๆ จะมีสีดำมีลักษณะคล้ายหมีแพนด้า ซึ่งสายพันธุ์นี้จะมีลักษณะไม่คงที่เพราะมีการลอกสีไปเรื่อย ๆ + ปลาทองปอมปอน (Pompon) ประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศแรกที่เพาะพันธุ์ได้ มีลักษณะลำตัวสั้น มองจากด้านบนจะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมคล้ายปลาทองหัวสิงห์แต่แตกต่างกันตรงส่วนหัว โดยผนังกั้นจมูกของปลาทองปอมปอนจะขยายเจริญเติบโตออกมาข้างนอกเป็นพู่ 2 ข้างทำให้แลดูแปลกตาออกไป มีช่วงลำตัวยาวและเพรียวกว่าปลาทองหัวสิงห์สายพันธุ์อื่น ๆ ปลาทองปอมปอนที่นิยมมากที่สุดคือพันธุ์สีแดงไม่มีครีบหลัง สายพันธุ์ปอมปอนแบ่งออกเป็นปอมปอนหัวสิงห์ ปอมปอนออแรนดา ปลาทองสายพันธุ์นี้บ้านเราไม่ค่อยได้รับความนิยมแพร่หลายมากเท่าใดนัก สาเหตุอาจเป็นเพราะปลาสายพันธุ์นี้โดยมากมีทรวดทรงที่ไม่สวยงามเท่าปลาทองหัวสิงห์สายพันธุ์อื่นขณะเดียวกันเป็นปลาที่แพร่พันธุ์ได้ยาก และปลาที่เพาะพันธุ์ได้โดยมากเป็นปลาพิการเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงทำให้ปลาชนิดนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในหมู่นักเพาะพันธุ์ปลาระดับมืออาชีพ เนื่องจากเพาะแล้วไม่ค่อยคุ้ม * พวกที่ไม่มีครีบหลัง มีรูปร่างกลมและไม่มีครีบหลังปลาทองในกลุ่มนี้จะว่ายน้ำได้ไม่ดี เทียบเท่ากับกลุ่มที่มีครีบหลังได้แก่ + ปลาทองหัวสิงห์จีน (Chinese lion head) จีนเป็นประเทศแรกที่เพาะพันธุ์ปลาทองสายพันธุ์นี้ ชาวตะวันตกเรียกปลาทองสายพันธุ์นี้ว่าLionhead ในประเทศไทยเรียกว่า ปลาทองหัวสิงห์จีน (Chinese lionhead) ลักษณะโดยทั่วไปจะมองคล้ายสิงห์ญี่ปุ่นแต่ลำตัวค่อนข้างยาวไม่สั้นกลมอย่างสิงห์ญี่ปุ่น และส่วนหลังก็จะโค้งน้อยกว่าสิงห์ญี่ปุ่น หางใหญ่ยาวกว่าวุ้นบนหัวจะมีมากกว่าสิงห์ญี่ปุ่น วุ้นขึ้นปกคลุมส่วนหัวทั้งหมดและวุ้นที่ดีจะต้องมีลักษณะเป็นเม็ดละเอียด สีลำตัวและครีบ มักจะมีสีอ่อนกว่าสิงห์ญี่ปุ่น เมื่อโตเต็มที่มีขนาดเฉลี่ยประมาณ 15 เซนติเมตร แต่ก็เคยพบบางตัวมีขนาดใหญ่ถึง 25 เซนติเมตร อายุเฉลี่ยประมาณ 5-7 ปี + ปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น (Ranchu หรือ Japanese lion head) เป็นปลาทองที่คัดพันธุ์ได้ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นเรียก Ranchu เป็นปลาทองพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในบรรดาปลาทองหัวสิงห์ ทั้งหมด ราคาค่อนข้างสูง ลักษณะที่ดีของปลาทองพันธุ์นี้คือ ลำตัวสั้นค่อนข้างกลม ถ้ามองจากด้านบนท้องทั้งสองด้านจะต้องป่องออกเท่ากัน สันหลังโค้งเรียบเป็นรูปไข่ ไม่มีรอยหยักขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่มีครีบหลัง ครีบทุกครีบสั้น ครีบคู่ทุกครีบต้องมีขนาดเท่ากัน และอยู่ในทิศทางเดียวกัน (ขนานกัน) ครีบหางสั้นและตั้งแข็งแผ่กว้าง วุ้นจะต้องขึ้นทั่วทั้งหัว เช่น บริเวณรอบปาก รอบดวงตาและใต้คาง โดยเฉพาะวุ้นใต้คางควรจะมีมากเป็นพิเศษจนมองดูจากด้านบนหัวจะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขณะว่ายน้ำต้องทรงตัวได้ดีและว่ายน้ำในลักษณะหัวก้มต่ำเล็กน้อย สีของปลาทองพันธุ์นี้มีหลายสี เช่น แดง แดงและขาว ส้ม ดำ ขาว และห้าสี สีแดงเป็นสีที่ได้รับความนิยมมาก ปลาชนิดนี้ค่อนข้างอ่อนแอเลี้ยงยาก เนื่องจากการผสมเลือดชิด (inbreed) ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20-25 เซนติเมตร + ปลาทองหัวสิงห์ลูกผสม (Hybrid lionhead, Ranchu x Chinese lionhead) ปลาทองสายพันธุ์นี้เป็นลูกผสมเพาะพันธุ์ได้ในประเทศไทย ซึ่งนำจุดเด่นของปลาทองหัวสิงห์จีนและสิงห์ญี่ปุ่นมารวมกันไว้ในปลาตัวเดียวกัน สาเหตุของการผสมข้ามพันธุ์ เนื่องมาจากปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น จะผสมพันธุ์ได้ค่อนข้างยาก ดังนั้นการนำปลาทองหัวสิงห์จีนมาผสมด้วยจะช่วยให้ปลาแพร่พันธุ์ได้ง่ายและได้จำนวนลูกปลาเพิ่มมากขึ้น ลักษณะเด่นของปลาทองหัวสิงห์ลูกผสมคือ วุ้นบนหัวของปลาจะมีขนาดปานกลาง ไม่ใหญ่เท่าปลาทองหัวสิงห์จีน แต่ใหญ่กว่าปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น หลังโค้งมนมากกว่าปลาทองหัวสิงห์จีน แต่ไม่โค้งและสั้นเท่าปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น ครีบหางสั้นกว่าปลาทองหัวสิงห์จีน แต่จะยาวกว่าปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น + ปลาทองพันธุ์สิงห์ตามิดหรือสิงห์สยาม (Siamese lionhead) เป็นปลาที่คัดพันธุ์ได้ในประเทศไทย ลักษณะลำตัวทั่ว ๆ ไปคล้ายสิงห์ญี่ปุ่นแต่หัวมีวุ้นมากกว่า วุ้นจะขึ้นคลุมทุก ๆ ส่วนบนหัวแม้กระทั่งส่วนของตาจะมองไม่เห็นเลยจึงทำให้ได้ชื่อว่าสิงห์ตามิดครีบหางมีขนาดใหญ่กว่าสิงห์ญี่ปุ่นเล็กน้อย ทุกส่วนของลำตัวต้องดำสนิท + ปลาทองพันธุ์ตากลับ (Celestial goldfish) ปลาทองพันธุ์หัวสิงห์ตากลับ เป็นปลาทองที่มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน ชาวจีนเรียกว่าโชเตนงัน(Chotengan) ซึ่งมีความหมายว่า ปลาตาดูฟ้าดูดาว หรือตามุ่งสวรรค์ ญี่ปุ่นเรียกปลาชนิดนี้ว่าเดเมรันชู (Deme- ranchu) ลักษณะเด่นคือ มีตาหงายกลับขึ้นข้างบน ผิดจากปลาทองชนิดอื่น ๆตาใหญ่สดใสทั้งสองข้าง ส่วนหัวไม่มีวุ้นหรือมีเคลือบเล็กน้อย ไม่มีครีบหลัง ลำตัวยาว หลังตรงหรือโค้งลาดเล็กน้อย ครีบหางยาว + ปลาทองพันธุ์ตาลูกโป่ง (Bubble eyes goldfish) มีลักษณะลำตัวคล้ายพันธุ์หัวสิงห์แต่ค่อนข้างยาวกว่า ไม่มีครีบหลัง ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือบริเวณใต้ตาจะมีถุงโป่งออกมาลักษณะคล้ายลูกโป่ง และถือกันว่าถุงลูกโป่งยิ่งมีขนาดใหญ่ยิ่งเป็นลักษณะที่ดี และถุงทั้งสองข้างจะต้องมีขนาดเท่ากัน ปลาพันธุ์นี้ที่พบมากมีสีแดง ส้ม หรือสีผสมระหว่างสีแดงและสีขาว หรือส้มและขาว จัดเป็นปลาที่เลี้ยงยากและเพาะพันธุ์ได้ยาก ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร

ปลาหมอ

ปลาหมอไทย (Climbing perch) ชื่อวิทยาศาสตร์ Anabas testudineus (Bloch) เป็นปลาที่รู้จักและนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทย อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วๆไป เป็นปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยหายใจปลาหมอไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า ปลาสะเด็ด ภาคเหนือเรียกว่า ปลาแข็ง ภาคใต้ตอนล่างเรียกชื่อเป็นภาษายาวีว่า อีแกบูยู ชาวบ้านทั่วๆไปเรียกว่า รูปร่างลักษณะภายนอกปลาหมอไทยมีลำตัวค่อนข้างแบนลำตัวมีสีน้ำตาลดำหรือคล้ำ ส่วนท้องมีสีขาวหรือเหลืองอ่อน ลำตัวมีเกล็ดแข็ง กระพุ้งแก้มมีลักษณะเป็นหนามหยักแหลมคมใช้ในการปีนป่าย บริเวณโคนหางมีจุดกลมสีดำ การเตรียมบ่อ1. สูบน้ำออกจากบ่อให้แห้งการสูบบ่อให้แห้งจะช่วยกำจัดศัตรูปลาที่มีอยู่ในบ่อ หลังจากสูบบ่อแห้งแล้วหว่านปูนขาวในขณะที่ดินยังเปียก ในอัตรา 60-100 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน2. กำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำที่มีอยู่ในบ่อจะเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของศัตรูปลาหมอไทย เช่น ปลาช่อน กบ งู ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดลง เนื่องจากพืชน้ำใช้ออกซิเจนในการหายใจเช่นเดียวกับปลา การที่มีพืชน้ำอยู่ในบ่อมากจะเป็นอุปสรรคต่อการให้อาหารและการวิดบ่อจับปลา3. การตากบ่อทำให้แก๊สพิษในดินบางชนิดสลายตัวไป เมื่อถูกความร้อนและแสงแดดเป็นการฆ่าเชื้อโรคและศัตรูปลาที่ฝังตัวอยู่ในดินใช้เวลาในการตากบ่อ 2-3 สัปดาห์4. สูบน้ำเข้าบ่อสูบน้ำใส่บ่อให้ได้ระดับ 60-100 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 2-3 วันก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้องใช้อวนไนล่อนสีฟ้ากั้นรอบบ่อให้สูงจากพื้นประมาณ 90 เซนติเมตร เพื่อป้องกันปลาหลบหนีออกจากบ่อเนื่องจากปลาหมอไทยมีนิสัยชอบปีนป่ายโดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตก5. การปล่อยปลาลงเลี้ยงและอัตราปล่อย5.1 การปล่อยปลานิ้วปล่อยปลาขนาด 2-3 เซนติเมตรในอัตราความหนาแน่น 50 ตัวต่อตารางเมตร ควรปล่อยลูกปลาลงบ่อในช่วงเช้าหรือเย็น ระดับน้ำในบ่อไม่ควรต่ำกว่า 60 เซนติเมตร ควรปรับอุณหภูมิของน้ำในถุงให้ใกล้เคียงกับน้ำในบ่อ เพื่อป้องกันปลาตายปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงประมาณ 1 เดือน จึงเพิ่มน้ำในบ่อให้ได้ระดับ 1-1.5 เมตร5.2 การปล่อยพ่อแม่พันธุ์ให้วางไข่ในบ่อโดยการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีไข่และน้ำเชื้อสมบูรณ์พร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ เมื่อคัดพ่อแม่พันธุ์ปลาได้แล้วจะฉีดฮอร์โมนเร่งการวางไข่ให้กับตัวเมียในอัตราความเข้มข้น ฮอร์โมนสังเคราะห์ 10 ไมโครกรัม และยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัมต่อปลา 1 กิโลกรัม จำนวน 1 ครั้ง แล้วจึงปล่อยให้ผสมพันธุ์วางไข่ในกระชังตาห่าง ซึ่งแขวนอยู่ในบ่อที่มีระดับน้ำไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร อัตราปลาเพศเมียต่อปลาเพศผู้เท่ากับ 1 ต่อ 1 ปริมาณน้ำหนักพ่อแม่ปลา 8-10 กิโลกรัม/ไร่ หรือประมาณ 40-75 คู่/ไร่ วันรุ่งขึ้นเมื่อปลาวางไข่หมดแล้ว จึงนำกระชังพ่อแม่พันธุ์ขึ้นปล่อยให้ไข่ฟักเป็นตัวหลังจากลูกปลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 4 วัน จึงเริ่มให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผง หรือให้อาหารพวกรำละเอียดผสมปลาบ่ออัตรา 1 ต่อ 1 เป็นระยะเวลา 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงให้อาหารเม็ดปลาดุกเล็กพิเศษหรือปลาสดจับละเอียดและเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดปลาดุกใหญ่เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น จนได้ขนาดตลาด อาหารและการให้อาหารปลาหมอไทยกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ การเลี้ยงจึงให้อาหารเม็ดปลาดุกในอัตรา 3-5% ของน้ำหนักตัววันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยช่วงแรกให้อาหารเม็ดปลาดุกขนาดเล็กหรือปลาสดสับละเอียดเป็นเวลา 2 เดือน และถัดมาเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดปลาดุกใหญ่เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น การให้อาหารต้องหว่านให้ทั่วบ่อ การเปลี่ยนถ่ายน้ำจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ เพราะการเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ทำให้ปลามีการกินอาหารดีขึ้นส่งผลให้ปลาเจริญเติบโตดี ระยะเวลาการเลี้ยงและการจับใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4-5 เดือน การจับปลาหมอไทยใช้วิธีการจับแบบวิดบ่อแห้ง โดยก่อนจับปลาจะต้องสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อยแล้วจึงตีอวนจับปลา โดยจากอวนจากขอบบ่อด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง แล้วจึงยกอวนขึ้นใช้สวิงจับปลาใส่ตะกร้าเพื่อคัดขนาดจนกระทั่งเหลือปลาจำนวนน้อยจึงสูบน้ำออกจากบ่อให้หมด และจับปลาที่เหลืออยู่ตามพื้นบ่อขึ้นมาคัดขนาดหลังจากนั้นจึงตากบ่อให้แห้งและเตรียมบ่อเพื่อเริ่มต้นเลี้ยงปลาในรุ่นต่อไป การจำหน่ายปลาหมอไทย1. ปลาขนาดใหญ่ ขนาด 6-10 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 55-60 บาท2. ปลาขนาดกลาง ขนาด 7-20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 25-30 บาท3. ปลาขนาดเล็ก ขนาดมากกว่า 20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 15-20 บาท การป้องกันและกำจัดโรค โรคจุดขาวอาการ ปลาจะมีจุดสีขาวขุ่นขนาดเท่าหัวเข็มหมุด กระจายอยู่ตามลำตัวและครีบสาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชนิดที่กินเซลผิวหนังเป็นอาหารการป้องกันและรักษา เนื่องจากปรสิตชนิดนี้จะฝังตัวอยู่ใต้ผิวหนัง การกำจัดได้ผลไม่เต็มที่วิธีที่ดีที่สุดคือ การทำลายตัวอ่อนในน้ำหรือทำลายตัวแก่ขณะว่ายน้ำอิสระ ใช้ฟอร์มาลีน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง ปลาขนาดใหญ่หรือ 25-50 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ 24 ชั่วโมงและแยกปลาที่เป็นโรคออกจากบ่อ โรคจากเห็บระฆังอาการ ปลาจะเป็นแผลตามผิวหนังและเหงือกสาเหตุ เกิดจากเห็บระฆังเข้าไปเกาะตามลำตัวและเหงือกการป้องกันและรักษา ปลาตายในระยะเวลาอันสั้นและมีการติดต่อระหว่างบ่อที่ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน การกำจัดใช้ฟอร์มาลีน 150-200 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง โรคตกเลือดตามซอกเกล็ดอาการ ปลามีแผลสีแดงเป็นจ้ำๆ ตามลำตัว โดยเฉพาะที่ครีบและซอกเกล็ดถ้าเป็นแผลเรื้อรังอาจมีอาการเกล็ดหลุดบริเวณรอบๆและด้านบนของแผลจะมีส่วนคล้ายสำลีสีน้ำตาลปนเหลืองติดอยู่สาเหตุ เกิดจากปรสิตเซลล์เดียวที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือกระจุกการป้องกันและรักษา1. ใช้เกลือเม็ด 5-10 กิโลกรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตรแช่ 48 ชั่วโมง2. ใช้ฟอร์มาลีน 25-40 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร หลังจากแช่ยาแล้วถ้าปลามีอาการไม่ดีขึ้นควรเปลี่ยนน้ำแล้วพักไว้ 1 วัน จากนั้นใส่ยาซ้ำอีก 1-2 ครั้ง

ปลาแรด

ปลาแรด ปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ Osphroneminae ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 1 สกุล (Genus) 4 ชนิด (Species) มีลักษณะร่วมกันคือ ลำตัวป้อมและแบนข้าง เกล็ดสากมือเป็นรูปหยัก มีก้านครีบท้องคู่แรกเป็นเส้นเรียวยาวคล้ายหนวด ใช้สำหรับสัมผัส ปลายหางมนกลม ปากแหลม ริมฝีปากหนา ภายในปากมีฟันซี่เล็ก ๆ แหลมคมเรียงอยู่ภายใน ส่วนหัวเล็กและป้าน เมื่อโตขึ้นมาโดยเฉพาะในปลาตัวผู้จะมีโหนกนูนขึ้นมาเรื่อย ๆ จนดูคล้ายนอแรด อันเป็นที่มาของชื่อ โคนหางมีจุดสีดำคล้ำอยู่ทั้ง 2 ข้าง เมื่อโตขึ้นจุดดังกล่าวจะหายไป
เป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ แต่จะกินพืชเป็นอาหารหลัก นิสัยก้าวร้าวพอสมควร และเป็นปลาที่มีความสามารถพิเศษคือ สามารถฮุบอากาศจากผิวน้ำได้โดยตรง เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษที่อยู่ในช่องเหงือกช่วยในการหายใจ อีกทั้งยังสามารถเก็บความชื้นไว้ได้เมื่อถูกจับพ้นน้ำ มีขนาดโตเต็มที่ราว 90 เซนติเมตร นับว่าเป็นปลาในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
พบกระจายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และที่เป็นหมู่เกาะ ชอบอาศัยในแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหลเอื่อย ๆ มีพืชน้ำขึ้นรก มีทั้งหมด 4 ชนิด คือ

[แก้] ชนิดพันธุ์
ปลาแรด (Osphronemus goramy) มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "เม่น" และภาษาใต้ว่า "มิน" เป็นปลาแรดชนิดที่เป็นที่รู้จักดีที่สุดและพบแพร่กระจายอย่างกว้างขวางที่สุด นิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจและปลาสวยงาม โดยเฉพาะในประเทศไทย เช่นที่ แม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี นิยมเพาะเลี้ยงในกระชังในแม่น้ำ ปลาที่กลายเป็นสีเผือก (Albino) นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
ปลาแรดแม่น้ำโขง หรือ ปลาแรดเขี้ยว (Osphronemus exodon) มีรูปร่างคล้ายปลาแรดชนิดแรก แต่พบเฉพาะในแม่น้ำโขงที่เดียวเท่านั้น มีความแตกต่างคือ มีลำตัวสีน้ำตาลแดงคล้ำ ครีบก้นแคบและเล็กกว่า และริมผีปากจะไม่สามารถสบกันจนสนิท จนเผยอให้เห็นซี่ฟันในปาก อันเป็นที่มาของชื่อ จัดเป็นปลาที่หาได้ยาก
ปลาแรดแดง (Osphronemus laticlavius) พบในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย มีรูปร่างคล้ายปลาแรดสองชนิดข้างต้น แต่มีลำตัวสีแดงสด ยิ่งเมื่อปลาโตขึ้นเท่าไหร่ สีดังกล่าวจะยิ่งเข้มตามด้วย จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ปลาแรดแดงจะมีการเจริญเติบโตช้ากว่า และขนาดเมื่อโตเต็มที่จัดว่าเป็นปลาแรดชนิดที่เล็กที่สุดด้วย กล่าวคือมีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร
ปลาแรดสามขีด (Osphronemus septemfasciatus) พบในประเทศมาเลเซีย มีลักษณะเด่นคือ มีขีดกลางลำตัว 3 ขีด เป็นปลาแรดชนิดที่เพิ่งถูกค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ ขนาดเมื่อโตเต็มที่เท่ากับปลาแรดแดง

[แก้] การขยายพันธุ์
ปลาแรดจะสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี โดยจะเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 3 ปี ปลาตัวผู้จะมีโหนกบนหัวสูงกว่า ตัวเมียจะมีท่อนำไข่เป็นจุดสีขาวเห็นได้ชัดเจน บริเวณใต้ครีบอก ปลาแรดจะมีพฤติกรรมการสร้างรังคล้ายกับรังนก โดยใช้หญ้า หรือวัสดุจำพวกพืชน้ำชนิดต่าง ๆ มาสานทอเป็นรังลักษณะกลมคล้ายตะกร้า โดยใช้โคลนเป็นตัวประสานให้ติดเข้าด้วยกัน และวางไข่ไว้ตรงกลางรัง การขวางไข่จะวางได้ครั้งละ 800-1,000 ฟอง ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลา 3-5 วัน

วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การเลี้ยงปลาดุก

การเลี้ยงปลาดุกเป็ดบาบารี -->
ปลาดุกอายุ 40 วัน
บ่อ..กระชัง
ปลาดุกเป็นปลาน้ำจืด ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของความอดทน สามารถทนต่อสภาพแวดล้อม...ได้ดี อาศัยอยู่ได้แม้ในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนน้อย ตัวอย่างเช่น บ่อน้ำลึก บ่อน้ำที่ตื้นเขิน บ่อที่มีพืชพรรณปกคลุมหนาแน่น บ่อโคลน บ่อน้ำที่มีกลิ่น...เป็นต้น
สำหรับชื่อปลาดุกนี้น่าจะมาจากลักษณะนิสัยของมันเอง ซึ่งบางครั้งที่เราเดินตลาดสดอาจเห็นปลาดุกกระโดนออกมาจากกะละมัง ดิ้นตะเกียกตะกาย..กระดุกกระดิกไปตามพื้น หรือเมื่อแม่ค้าทุบหัวปลาดุก อวัยวะบางส่วนยังคงกระดุกกระดิกได้ คงเป็นเพราะเหตุผลนี้กระมัง เจ้าปลาชนิดนี้จึงได้ชื่อว่า "ปลาดุก"
อันตรายจากปลาดุกซึ่งเป็นอาหารอันเลิศรส...ก็มีเหมือนกัน นั่นคือส่วนที่เรียกว่า"เงี่ยง" เงี่ยงเป็นส่วนที่แหลม ยื่นต่อออกมาจากปากของปลา ต้องระวัง...ให้ดี